บทความ

บทความ
  1. สวิงหรือกระชอนช้อนใบไม้
    สวิงหรือกระชอนช้อนใบไม้ เป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ใช้สำหรับดูแลสระว่ายน้ำเบื้องต้น ใช้ตักใบไม้ ฝุ่นละออง ขยะ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่มองเห็นได้ ทั้งที่ลอยอยู่บนผิวน้ำและจมอยู่ที่ก้นสระว่ายน้ำ
  2. แปรงขัดสระว่ายน้ำ
    แปรงขัดสระว่ายน้ำเป็นแปรงที่ใช้สำหรับขัดคราบสกปรกออกจากพื้นและผนังกระเบื้องสระว่ายน้ำ มีให้เลือกทั้งแบบที่ผลิตจากพลาสติกและสเตนเลส
  3. เครื่องดูดตะกอนสระว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่
    เครื่องดูดตะกอนสระว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ เป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำ ที่ใช้สำหรับดูดสิ่งสกปรกภายในสระขึ้นมา ประกอบด้วยปั๊มน้ำ เครื่องกรอง ครบชุดประกอบกันบนรถเข็น โดยใช้งานง่ายเพียงต่อท่อดูดและท่อจ่ายน้ำ จากนั้นก็สามารถใช้งานได้เลยทันที
  4. สายดูดตะกอนและหัวดูดตะกอน
    สายดูดตะกอนและหัวดูดตะกอนเป็นอุปกรณ์ดูแลสระว่ายน้ำ ใช้ต่อเข้ากับเครื่องดูดตะกอนสระว่ายน้ำ โดยหัวดูดมีให้เลือกทั้งแบบมีล้อที่ช่วยให้ใช้งานง่ายขึ้น และแบบแปรงที่ช่วยป้องกันพื้นผิวกระเบื้องเสียหาย และสายดูดตะกอนก็มีความยาวให้เลือกใช้ได้ตามขนาดของสระว่ายน้ำ
  5. เคมีภัณฑ์ดูแลสระว่ายน้ำ
    เคมีภัณฑ์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการดูแลสระว่ายน้ำ เพราะเป็นตัวช่วยที่ทำให้น้ำใสสะอาด โดยใช้ทั้งฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย กำจัดตะไคร่น้ำ ปรับสภาพน้ำจากน้ำสีเขียว หรือน้ำที่เริ่มขุ่นให้สะอาดมากขึ้น โดยส่วนมากเราจะมักได้ยินชื่อของคลอรีนกันเป็นส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ แล้วเคมีภัณฑ์ในสระว่ายน้ำก็ยังมีประเภทอื่นด้วย เช่น สารซัลเฟต แคลเซียม
  6. ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ
    อุปกรณ์ทำความสะอาดสระว่ายน้ำชิ้นสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เลย คือ ชุดทดสอบคุณภาพน้ำ ใช้สำหรับวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าคลอรีนในน้ำให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ลงไปเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ โดยวิธีใช้งานนั้นเราจะไปดูกันต่อในวิธีดูแลสระว่ายน้ำ
บทความ
  1. ทำความสะอาดเบื้องต้น
    เริ่มต้นด้วยการใช้สวิงหรือกระชอนช้อนสิ่งสกปรก ใบไม้ แมลง และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ขึ้นจากน้ำ โดยควรดูแลสระว่ายน้ำด้วยการช้อนสิ่งสกปรกทุก 2-3 วัน เนื่องจากหากปล่อยไว้นานจะทำให้สิ่งสกปรกเหล่านี้จมลงสู่ใต้น้ำ ทำให้น้ำขุ่นหรือสกปรกได้ และยากต่อการทำความสะอาดมากยิ่งขึ้น
  2. ดูดตะกอนในสระว่ายน้ำ
    หลังจากใช้แปรงขัดสระว่ายน้ำเรียบร้อยแล้ว ต่อสายและหัวดูดเข้าแล้วทิ้งหัวดูดลงในน้ำ แล้วกรอกน้ำเข้าสายดูดจนเต็มสาย จากนั้นจึงต่อเข้ากับเครื่องดูดตะกอนสระว่ายน้ำ โดยควรดูดให้ทั่วทั้งพื้นและผนังสระว่ายน้ำ โดยควรเลือกหัวดูดให้เข้ากับประเภทของวัสดุที่ใช้สร้างสระว่ายน้ำ เช่น สระว่ายน้ำที่ใช้กระเบื้องควรเลือกใช้แปรงขนอ่อน แทนแปรงที่แข็งกว่า เพื่อป้องกันรอยขีดข่วนบนพื้นผิว
  3. ตรวจสอบระดับน้ำในสระว่ายน้ำ
    โดยปกติแล้วน้ำในสระมักจะระเหยหายไปตามธรรมชาติหรือจากการใช้งาน แต่นอกจากนี้ปัญหารั่วซึมก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำในสระลดลงได้ โดยควรทดสอบด้วยการเติมน้ำลงในถังพลาสติกประมาณ 3 ใน 4 จากนั้นวางไว้ข้างสระว่ายน้ำ โดยอย่าลืมทำเครื่องหมายไว้ที่สระว่ายน้ำด้วย ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วัน หากน้ำในสระลดลงมากกว่าน้ำในถัง อาจเป็นเพราะปัญหารั่วซึมได้
  4. ทำความสะอาดเครื่องกรอง
    นอกจากเศษฝุ่น ใบไม้ และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ แล้ว เครื่องกรองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลสระว่ายน้ำให้ปราศจากสิ่งสกปรกด้วย ควรนำตัวกรองออกมาทำความสะอาดเสียบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาตัวกรองอุดตัน
  5. ตรวจสอบค่า pH
    ต่อมาเป็นวิธีดูแลสระว่ายน้ำด้วยการตรวจสอบค่าความเป็นกรด-ด่างในน้ำ โดยปกติแล้วการควบคุมความเป็นกรดด่างของน้ำในสระจะอยู่ที่ pH 2-7.8 (pH>7 เป็นด่าง และ pH<7 เป็นกรด) ซึ่งหากค่า pH มีสภาพเป็นกรดมากเกินไป จะมีผลต่อการกัดกร่อน
  6. ตรวจสอบปริมาณสารเคมีอื่น ๆ ในสระว่ายน้ำ
    นอกจากค่าความเป็นกรด-ด่างแล้ว ยังมีค่าสารเคมีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องใส่ลงในสระว่ายน้ำ โดยการวัดสารเคมีสามารถใช้เครื่องวัดแบบดิจิทัล ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกได้ โดยปริมาณสารเคมีอื่น ๆ ค่าสารซัลเฟต ในสระว่ายน้ำควรอยู่ไม่เกิน 250 ppm หากมากเกินไปจะทำให้กัดกร่อนยาแนวและกาวซีเมนต์ได้ ปริมาณแคลเซียม ควรอยู่ที่ 200-250 ppm หากต่ำกว่าจะทำให้น้ำดึงแคลเซียมจากกาวยาแนว และเกิดการกัดกร่อนได้ แต่หากมากเกินไปก็จะทำให้เกิดคราบขาวบนแผ่นกระเบื้อง รวมถึงส่งผลเสียต่อปั๊มน้ำได้
  7. ขัดถูกระเบื้องและขอบสระว่ายน้ำ
    นอกจากการดูแลสระว่ายน้ำที่ภายในแล้ว ก็อย่าลืมทำความสะอาดกระเบื้องขอบสระว่ายน้ำด้วย เพราะบริเวณขอบสระก็ต้องพบกับความชื้นและสภาพอากาศเช่นกัน หากไม่หมั่นขัดถูทำความสะอาดก็จะทำให้เกิดคราบเชื้อราดำ และตะไคร่น้ำขึ้นได้เช่นกัน